เทคโนโลยีของ Internet of Things นั้นได้สร้างพรมแดนใหม่ของการใช้ข้อมูลและการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ มันเลยกลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับหลายๆคนมากมายที่กำลังพยายามลองหาวิธีการใหม่ๆ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม
Smart home หรือบ้านอัจฉริยะ คือการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย , มีระบบการจัดการพลังงาน ระบบรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติทั้งภายในและรอบตัวบ้าน ส่วนใหญ่จะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปเรียกว่า home automation ซึ่งสามารถถูกจำแนกความสามารถและความซับซ้อนในการควบคุมออกเป็น
1. ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น เปิด/ปิด หรือปรับระดับความสว่าง
2. ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น สั่งงานเครื่องปรับอากาศ หรือการเปิดปิดม่าน
3. ระบบความบันเทิงภายในบ้าน เช่น สั่ง Internet radio ให้ทำงานในห้องที่ ผู้ใช้อยู่ และปิดเมื่อผู้ใช้ออกจากห้อง
4. ระบบบริหารพลังงาน และพลังงานสำรอง เช่น การปิด/เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆโดยขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
5. ระบบสื่อสาร เช่น รับ/ส่ง ข้อความหรือคำสั่งระหว่างผู้ใช้
6. ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น เชื่อมต่อระบบกันขโมย/กล้อง กับ บ.รักษาความปลอดภัย
ระดับของความซับซ้อนนี้ ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้อยู่อาศัยว่าจะเลือกให้อัตโนมัติขนาดไหน และจะให้มีอะไรอัจฉริยะบ้าง บางคนอาจจะต้องการเพียงแค่ สามารถสั่งเปิดปิด อุปกรณ์ต่างๆจาก Tablet เช่น iPad หรือจากมือถือ หรือให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน โคมไฟ แอร์ ทีวี เปิดปิดเองอัตโนมัติจากการวัดด้วย sensor หรือประมวลผลชุดคำสั่งจาก user profile ว่าผู้ใช้น่าจะต้องการให้ระบบควบคุมปฏิบัติเช่นไร
wearable เป็นอุปกรณ์สวมใส่ เป็นได้ทั้งแฟชั่น และไอทีที่ช่วยเพื่มอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ที่ให้คุณมากกว่าแค่เครื่องประดับร่างกาย แต่การที่จะเลือก Wearable Device นั้น ต้องเลือกให้สอดคล้องกับความต้องการของเราว่า อุปกรณ์นี้มีความสามารถอะไรบ้าง? ตรงใจเรา ช่วยให้เราสะดวก ดีขึ้น หรือไม่?
หลักการทำงานของพวก Smart watch ซึ่งเป็น Wearable ยอดนิยมที่จำหน่ายทั่วโลกแล้ว
Wearable Device คืออุปกรณ์ที่่เข้ามาเกี่ยวข้องกับไลฟสไตร์ของมนุษย์เรา โดยเราสามารถนำมาสวมใส่ ทำงานและควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ล่าสุดผู้เขียนได้ซื้ออุปกรณ์ด้านนี้มามีชื่อว่า UP จาก Jawbone ลักษณะภายนอกจะเป็นเสมือนกำไลข้อมือ เมื่อนำมาใส่แล้วจะสามารถนับก้าวเดินของเราว่าวันหนึ่งๆ เราเดินไปทั้งหมดกี่ก้าวแล้ว ถ้าออกวิ่งก็สามารถตรวจสอบก้าวที่เราวิ่งได้ เผาผลาญไปกี่แคลอรี่ ยามที่จะนอนสามารถที่จะตั้งเพื่อตรวจสอบได้ว่าเรานอนหลับลึกไม่ลึกแค่ไหน ตั้งปลุกตอนเช้าได้โดยการสั่นที่ข้อมือเรา ตรวจสอบอาหารที่เรากินเข้าไปนั้นกี่แคลอรี่ เมื่อเรานำอุปกรณ์ดังกล่าวมาเชื่อมกับที่เสียบหูฟังเครื่อง iPhone ที่เราลงแอพพลิเคชั่น UP เอาไว้ ข้อมูลต่างๆ ของเราก็จะ Sync และนำมาแสดงผลในแอพฯ ใครอยากแบ่งปันใน Social Network ให้เพื่อนๆ ของเราที่ใช้ UP ด้วยกันเห็นก็ได้เช่นเดียวกัน
“เมืองอัจฉริยะ” หรือสมาร์ตซิตี้ (smart city) เป็นแนวคิดที่หมายถึงระบบที่เชื่อมโยงถึงกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง แนวคิดเบื้องหลังของเมืองอัจฉริยะคือการที่สภาพแวดล้อมสามารถรับรู้และปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผู้อยู่อาศัย
“สมาร์ทกริด”(Smart Grid) คือระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สมาร์ทกริดทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบการสื่อสารสองทางเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ณ บ้านของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทที่ให้บริการระบบส่งจ่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริดได้พัฒนาโปรแกรมพร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) ไว้ที่แต่ละครัวเรือนว่ามีการใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ จุดไหนใช้มากน้อยอย่างไร เพื่อช่วยคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟของเมือง ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง ทั้งยังทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นพฤติกรรมและปรับลดการใช้พลังงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบสมาร์ทกริดเกิดขึ้น เป็นเพราะแนวโน้มในธุรกิจไฟฟ้าของโลกเบนเข็มมาที่การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือพลังงานชีวภาพอื่นๆ และผู้ใช้ก็เป็นฝ่ายผลิตไฟฟ้าได้เองจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลหรือกังหันลม ซึ่งเมื่อผลิตไฟฟ้าได้เกินจากการใช้งานก็ย่อมสามารถส่งกลับไปขายให้รัฐหรือบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าได้ แต่ทั้งหมดนี้ยังขาดการบริหารการผลิตหรือรองรับการจัดเก็บในระบบอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถจัดสรรพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในระบบในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ระบบกริดอัจฉริยะนี้จึงเข้ามาช่วยจัดการการผลิต จัดเก็บ และจัดสรรพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นไม่เพียงประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ระบบนี้ยังมุ่งเน้นไปในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานทดแทนด้วย
ทุกวันนี้ เราได้ยินเรื่องต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 (Industry 4.0) ซึ่งคำเหล่านี้ล้วนอ้างถึงเมกะเทรนด์อันเดียวกันที่กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดและลูกค้าหลายรายในปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคตในระยะที่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ สำหรับอุตสาหกรรม เราขอเรียกเมกะเทรนด์นี้ว่า IIoT (Industrial Internet of Things) หรือถ้าให้เรียกเป็นภาษาไทยก็คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมกระบวนการที่ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันทั้งหมด เราจะวางจุดยืนของเราในเรื่องนี้อย่างไรให้กลยุทธ์ด้าน IIoT มีความชัดเจนและเกี่ยวข้องกับลูกค้าของเรา
Connected car เป็นส่วนที่มีการปรับตัวช้ากว่าในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากวงรอบในการพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ กลายเป็นที่สนใจและเกี่ยวข้องกับ Internet of Things (IoT) เพราะรถยนต์จะกลายเป็นเซนเซอร์เคลื่อนที่ที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากท้องถนน ได้แก่ ข้อมูลอากาศ สภาพถนนและความหนาแน่นของจราจร จึงอาจเปรียบรถยนต์ได้กับสถานีตรวจวัดอากาศเคลื่อนที่ที่พร้อมส่งข้อมูลของสภาพแวดล้อมต่างๆ จากพื้นที่จริง รถยนต์จึงนับแหล่งเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือและต่อยอดประโยชน์ได้อย่างมาก
1.คุณจะปลอดภัยขึ้น ระบบขับขี่อัตโนมัติของรถยนต์จะลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนได้เป็นอย่างมากรวมไปถึงการลดจำนวนสัญญาณไฟจราจรตามสี่แยก
2.คุณจะมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น รถของคุณจะสามารถขับขี่และจอดได้โดยอัตโนมัติ คุณสามารถพักผ่อน อ่านหนังสือหรือแชทกับเพื่อนได้ระหว่างการเดินทาง เมื่อถึงจุดหมายก็เพียงแค่เดินออกจากรถและตรงไปในร้านอาหารเพื่อทานอาหารกับเพื่อนของคุณ ขณะที่รถไปจอดด้วยตัวเอง
3.คุณจะมีเงินเพิ่มขึ้น บริษัทประกันจะหยุดตั้งคำถามถึงประวัติการขับขี่ของคุณเพื่อเพิ่มเบี้ยประกัน นอกจากนี้ยังสามารถนำรถเพื่อหารายได้จากเพิ่มจากช่องทางอื่นๆ อีกด้วย
4.คุณจะไปโรงพยาบาลน้อยลง รถของคุณจะกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยที่สุดที่คุณใช้และสามารถเป็น คลีนิกเคลื่อนที่ได้ด้วยแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย ลองจินตนาการถึงการตรวจสุขภาพได้ระหว่างการเดินทางไปทำงานของคุณ
5.คุณจะอยากเดินทางบ่อยขึ้น รถยนต์อัจฉริยะของคุณจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการให้บริการเดินทางที่ต้องการมอบประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกสบายและไร้ความกังวลใดๆในการเดินทางแต่ละครั้งแก่คุณ
7. Connected Health (Digital health/Telehealth/Telemedicine)
แนว คิดของระบบ connected health, Digital health หรือ smart medical ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนักในขณะนี้ แต่ก็มีหลายๆ ค่ายได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้เห็นกันบ้างแล้ว
อย่างเช่น
CellScope เป็นอุปกรณ์ด้านการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวที่ตรวจหู (otoscope) อัจฉริยะ โดยประกอบร่างรวมเข้ากับเคสสำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ พร้อมแอพสำหรับใช้คู่กับที่ตรวจหูเป็นการเฉพาะ
หลักการของที่ตรวจหูตัวนี้ ทำงานเหมือนที่ตรวจหูทั่วไป โดยใช้เลนส์ชุดพิเศษในการเชื่อมเข้ากับกล้อง เพื่อส่องเข้าไปในรูหูของคนไข้ แต่ที่พิเศษกว่าตรงที่มีแอพทำงานคู่ด้วย ซึ่งหากใช้กับที่บ้าน ตัวแอพดังกล่าวก็จะสามารถส่งข้อมูลไปให้แพทย์ที่มีข้อตกลงกับบริษัท ช่วยวินิจฉัยอาการได้ด้วย โดยตั้งเป้าว่าจะวินิจฉัยอาการภายใน 2 ชั่วโมง เมื่อได้รับภาพจากที่ตรวจหูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Swaive เป็น App ตัวสุขภาพ
สำหรับ Smart retail นั้นจะเข้ามาช่วยห้างร้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า แต่ในตอนนี้ระบบนี้ยังเริ่มต้นได้ไม่นานนักและสินค้าเฉพาะกลุ่ม เร็วๆ นี้คงได้เห็นกันมากขึ้น
คือการจัดการระบบร้านค้าด้วยการส่งข้อมูลไปถึงมือลูกค้าอย่างฉับไว จะดีเพียงใดถ้าเพียงลูกค้าเดินผ่านประตูร้านเข้ามาก็ได้รับการทักทาย จะเพิ่มโอกาสและแรงจูงใจในการจับจ่ายสินค้าได้มากแค่ไหน หากสามารถนำเสนอสินค้าต้องตามรสนิยม หรือแม้แต่มอบส่วนลดได้ตรงใจลูกค้าอย่างรวดเร็ว ถึงมือ จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แค่ไหน เมื่อไม่ต้องเสียเวลาหรือถูกกวนใจกับข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นที่ไม่ต้องการ และไม่เพียงส่งข้อมูลที่เหมาะสมตรงถึงลูกค้าเท่านั้น ยังสามารถเก็บข้อมูลและสถิติในรูปแบบต่างๆ ที่ธุรกิจจะสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดและบริหาร เพิ่มความแข็งแกร่งทาง ด้านข้อมูลข่าวสาร เสริมศักยภาพ และความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจของคุณ
ระบบนี้จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลังขนส่งไปตามท้องถนน ซึ่งระบบนี้จริงๆ แล้วได้มีการใช้งานมาบ้างแล้ว แต่เมื่อพูดถึงในมุมมองของ Internet of Things ดูเหมือนว่าจะยังมีการพูดถึงอยู่ในวงจำกัด
Smart farming บ่อยครั้งที่ถูกมองข้ามเมื่อพูดถึง Internet of Things เพราะเนื่องจากมันไม่ค่อยเป็นที่รับรู้หรือถูกนึกถึงเมื่อเทียบกับด้านสุขภาพ มือถือ หรืออุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำไร่นาสวนต่างๆ เป็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกล ฉะนั้นการนำ Internet of Things มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการมอนิเตอร์จึงเป็นอะไรที่สามารถปฏิวัติวงการการทำเกษตรได้เลยทีเดียว
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เจ.วาย โกลบอล
S.J.Y Global Limited Partnership
ที่อยู่:181 ซ.รัชดาภิเษก 62 ถ.รัชดาภิเษก แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
เบอร์โทร:0-2910-0039 สายด่วน 09-4464-9892
Line ID : @iqq4478t
เปิดทำการ :
จันทร์ - ศุกร์ : 09.00-18.00 น.
เสาร์ : 09.00 - 12.00 น.
หยุดวันอาทิตย์
หยุดวันนักขัตฤกษ์
Copyright © 2024 ออกแบบเว็บไซต์ โปรแกรมสำเร็จรูป บริการโฮสติ้ง ยอดนิยมอันดับ 1 ของคนไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีครบวงจร.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เจ.วาย โกลบอล S.J.Y Global Limited Partnership.
เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากกระทรวงพาณิชย์: 0103561013588